อยากทราบว่าใครประดิษฐ์อุปกรณ์รีโมท คอนโทรลสำหรับโทรทัศน์เป็นคนแรก
รีโมทคอนโทรลเป็นเครื่องมือส่งคำสั่งควบคุมแบบไร้สาย รีโมทคอนโทรลอันแรกมีชื่อว่า Flash-Matic ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับโทรทัศน์ยี่ห้อซีนิท(Zenith) ของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ คิดค้นโดย ยูจีน พอลลีย์ (Eugene Polley) โดยใช้ลำแสงส่องไปที่โทรทัศน์เพื่อเปลี่ยนช่องและปรับความดังเสียง แต่ต่อมาพบปัญหาว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องตรงๆ เข้าเครื่องโทรทัศน์ก็ทำให้โทรทัศน์เกิดเปลี่ยนช่องได้เช่นกัน
ปีถัดมา พ.ศ. ๒๔๙๙ ยูจีนและโรเบิร์ต แอดเลอร์ (Robert Adler) ช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยเปลี่ยนจากการใช้ลำแสงเป็นคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ (มีความถี่เหนือความถี่เสียงที่คนได้ยิน) ผลิตรีโมทคอนโทรลชื่อ Zenith Space Command คราวนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้ราคาโทรทัศน์รุ่นใหม่จะสูงกว่าเดิมถึงร้อยละ ๓๐ เพื่อแลกกับความสะดวกสบายที่ผู้ชมไม่ต้องลุกจากเก้าอี้ไปเปลี่ยนช่อง ทำให้บริษัทอื่นๆ ต้องผลิตโทรทัศน์และรีโมทคอนโทรลตามกันออกมา
ถัดมาอีกกว่า ๒๐ ปี ในปี ๒๕๒๓ พอล ฮีร์ฟแนก (Paul Hrivnak) แห่งบริษัทฟิลิปส์ จึงประดิษฐ์รีโมตคอนโทรลใช้รังสีอินฟราเรดซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งสัญญาณแทนคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ซึ่งพบว่าสร้างความรำคาญให้แก่สุนัขตามบ้าน รีโมทคอลโทรลแบบนี้ใช้กันมาถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันนิสัยนั่งชมโทรทัศน์นานๆ โดยไม่ลุกจากเก้าอี้เพราะกดปุ่มรีโมทคอนโทรลเปลี่ยนช่องได้ กลายเป็นวัฒนธรรมของคนทั่วโลก และมีผู้ยกย่องให้ ยูจีน พอลลีย์ เป็นบิดาของวัฒนธรรมนี้ นอกจากรีโมตคอนโทรลแล้วเขายังมีส่วนประดิษฐ์วิทยุกดปุ่มติดตั้งในรถยนต์ และวิดีโอดิสก์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนแผ่นดีวีดี
ยูจีน พอลลีย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ในวัย ๙๖ ปี
ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 328 มิถุนายน 2555
รีโมทคอนโทรลเป็นเครื่องมือส่งคำสั่งควบคุมแบบไร้สาย รีโมทคอนโทรลอันแรกมีชื่อว่า Flash-Matic ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับโทรทัศน์ยี่ห้อซีนิท(Zenith) ของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ คิดค้นโดย ยูจีน พอลลีย์ (Eugene Polley) โดยใช้ลำแสงส่องไปที่โทรทัศน์เพื่อเปลี่ยนช่องและปรับความดังเสียง แต่ต่อมาพบปัญหาว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องตรงๆ เข้าเครื่องโทรทัศน์ก็ทำให้โทรทัศน์เกิดเปลี่ยนช่องได้เช่นกัน
ปีถัดมา พ.ศ. ๒๔๙๙ ยูจีนและโรเบิร์ต แอดเลอร์ (Robert Adler) ช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยเปลี่ยนจากการใช้ลำแสงเป็นคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ (มีความถี่เหนือความถี่เสียงที่คนได้ยิน) ผลิตรีโมทคอนโทรลชื่อ Zenith Space Command คราวนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้ราคาโทรทัศน์รุ่นใหม่จะสูงกว่าเดิมถึงร้อยละ ๓๐ เพื่อแลกกับความสะดวกสบายที่ผู้ชมไม่ต้องลุกจากเก้าอี้ไปเปลี่ยนช่อง ทำให้บริษัทอื่นๆ ต้องผลิตโทรทัศน์และรีโมทคอนโทรลตามกันออกมา
ถัดมาอีกกว่า ๒๐ ปี ในปี ๒๕๒๓ พอล ฮีร์ฟแนก (Paul Hrivnak) แห่งบริษัทฟิลิปส์ จึงประดิษฐ์รีโมตคอนโทรลใช้รังสีอินฟราเรดซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งสัญญาณแทนคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ซึ่งพบว่าสร้างความรำคาญให้แก่สุนัขตามบ้าน รีโมทคอลโทรลแบบนี้ใช้กันมาถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันนิสัยนั่งชมโทรทัศน์นานๆ โดยไม่ลุกจากเก้าอี้เพราะกดปุ่มรีโมทคอนโทรลเปลี่ยนช่องได้ กลายเป็นวัฒนธรรมของคนทั่วโลก และมีผู้ยกย่องให้ ยูจีน พอลลีย์ เป็นบิดาของวัฒนธรรมนี้ นอกจากรีโมตคอนโทรลแล้วเขายังมีส่วนประดิษฐ์วิทยุกดปุ่มติดตั้งในรถยนต์ และวิดีโอดิสก์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มาก่อนแผ่นดีวีดี
ยูจีน พอลลีย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ในวัย ๙๖ ปี
ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 328 มิถุนายน 2555