[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th]
ทีมนักวิจัยได้พัฒนารีโมทที่สามารถใช้ควบคุมแมลงได้ โดยแมลงที่โชคร้ายต้องกลายเป็นหนูทดลองในงานนี้คือ "แมลงสาบยักษ์" (Giant Cockroach) อุ๊ปส์!!1
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยในรัฐแคโรไลน่าได้พัฒนาระบบที่ใช้อินเตอร์เฟซอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมสั่งการแมลงสาบได้เป็นผลสำเร็จ โดยนักวิจัยกล่าว่า เป้าหมายของการทดลองดังกล่าว เพื่อพิสูจน์ว่า พวกเขาจะสามารถสร้างอินเตอร์เฟซไร้สายสำหรับการควบคุมสิ่งมีชีวิตอย่างแมลงสาบได้ หรือไม่? หนึ่งในทีมวิจัยพูดถึงความหวังในการพัฒนาต่อไปว่า ทีมงานจะพัฒนาโมบายเว็บที่ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์อัจฉริยะ เพื่อใช้ในการควบคุมแมลงสาบจากระยะไกลได้ โดยแมลงเหล่านี้จะสามารถช่วยงานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาผู้รอดชีวิตในตึกอาคารที่ถล่ม เนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น ทั้งนี้ระบบควบคุมแมลงสาบที่พัฒนาขึนใหม่นี้จะมีราคาถูก และปลอดภัย โดยให้มันทำงานภายใต้เงื่อนไขที่เชื่อถือใจได้
สำหรับวิธีที่รีโมทใช้ในการควบคุมแมลงสาบให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ที่ต้องการได้นั้น ระบบจะประกอบด้วยภาคส่งจะส่งสัญญาณไปยังภาครับที่ติดอยู่บนหลังของแมลงสาบ เพื่อกระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าให้มันเคลื่อนไปที่ในทิศทางที่ต้องการ โดยชุดอุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีชิปเอ็มเบ็ดเดดที่วางขายทั่วไปและมีราคาถูก หลอดไฟ และชุดภาครับส่งสัญญาณไร้สาย โดยในการทดสอบทีมงานได้ใช้แมลงสาบยักษ์จากมาดากัสการ์ที่ถูกติดแผงวงจรควบคุม (หนักประมาณ 0.7 กรัม) ไว้บนหลังของมัน และไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ทำหน้าที่สอดส่องการทำงานของอินเตอร์เฟซระหว่างขั้วไฟฟ้าที่ฝังเข้าไปในเนื้อเยื้อของแมลงสาบ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เส้นประสาทของพวกมันถูกทำลาย
ทีมวิจัยได้เชื่อมต่อต่อสายสัญญาณไมโครคอนโทรลเลอร์เข้ากับหนวดของแมลงสาบ และ Cerci ซึ่งสำหรับ Cerci หมายถึง อวัยวะที่รับความรู้สึกบริเวณช่องท้องของแมลงสาบ โดยมันจะใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของอากาศเวลาที่มันพบว่ามีนักล่ากำลังเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ ด้วยกลไกการทำงานของแมลงสาบในลักษณะนี้ สายสัญญาณที่เชื่อมต่อกับ Cerci จะทำหน้าที่กระตุ้นให้แมลงสาบเคลือนที่ได้ เนื่องจากมันคิดว่ามีนักล่ากำลังเข้ามาใกล้มันนั่นเอง ส่วนสายสัญญาณที่เชื่อมต่อกับหนวดของมันจะทำหน้าที่ชาร์จประจุไฟฟ้าเล็กๆ เข้าไปในเนื้อเยื้อเส้นประสาทของแมลงสาบ เพื่อกระตุ้นให้มันคิดว่า หนวดที่ทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศของมันสัมผัสถูกสิ่งกีดขวาง และเปลียนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นตรงกันข้าม โอ้ว...คิดได้นะเนียคนเรา - -" ...เอ่อ...อันนี้มันคนละตัวกับ "หุ่นยนต์แมลงสาบที่บังคับด้วยรีโมท" ซึ่งนำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้นะครับ อันนั้นมันของเล่น...แต่นี่เป็นแมลงสาบที่มีชีวิตจริงๆ ><"
ทีมนักวิจัยได้พัฒนารีโมทที่สามารถใช้ควบคุมแมลงได้ โดยแมลงที่โชคร้ายต้องกลายเป็นหนูทดลองในงานนี้คือ "แมลงสาบยักษ์" (Giant Cockroach) อุ๊ปส์!!1
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยในรัฐแคโรไลน่าได้พัฒนาระบบที่ใช้อินเตอร์เฟซอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมสั่งการแมลงสาบได้เป็นผลสำเร็จ โดยนักวิจัยกล่าว่า เป้าหมายของการทดลองดังกล่าว เพื่อพิสูจน์ว่า พวกเขาจะสามารถสร้างอินเตอร์เฟซไร้สายสำหรับการควบคุมสิ่งมีชีวิตอย่างแมลงสาบได้ หรือไม่? หนึ่งในทีมวิจัยพูดถึงความหวังในการพัฒนาต่อไปว่า ทีมงานจะพัฒนาโมบายเว็บที่ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์อัจฉริยะ เพื่อใช้ในการควบคุมแมลงสาบจากระยะไกลได้ โดยแมลงเหล่านี้จะสามารถช่วยงานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาผู้รอดชีวิตในตึกอาคารที่ถล่ม เนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น ทั้งนี้ระบบควบคุมแมลงสาบที่พัฒนาขึนใหม่นี้จะมีราคาถูก และปลอดภัย โดยให้มันทำงานภายใต้เงื่อนไขที่เชื่อถือใจได้
สำหรับวิธีที่รีโมทใช้ในการควบคุมแมลงสาบให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ที่ต้องการได้นั้น ระบบจะประกอบด้วยภาคส่งจะส่งสัญญาณไปยังภาครับที่ติดอยู่บนหลังของแมลงสาบ เพื่อกระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าให้มันเคลื่อนไปที่ในทิศทางที่ต้องการ โดยชุดอุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีชิปเอ็มเบ็ดเดดที่วางขายทั่วไปและมีราคาถูก หลอดไฟ และชุดภาครับส่งสัญญาณไร้สาย โดยในการทดสอบทีมงานได้ใช้แมลงสาบยักษ์จากมาดากัสการ์ที่ถูกติดแผงวงจรควบคุม (หนักประมาณ 0.7 กรัม) ไว้บนหลังของมัน และไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ทำหน้าที่สอดส่องการทำงานของอินเตอร์เฟซระหว่างขั้วไฟฟ้าที่ฝังเข้าไปในเนื้อเยื้อของแมลงสาบ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เส้นประสาทของพวกมันถูกทำลาย
ทีมวิจัยได้เชื่อมต่อต่อสายสัญญาณไมโครคอนโทรลเลอร์เข้ากับหนวดของแมลงสาบ และ Cerci ซึ่งสำหรับ Cerci หมายถึง อวัยวะที่รับความรู้สึกบริเวณช่องท้องของแมลงสาบ โดยมันจะใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของอากาศเวลาที่มันพบว่ามีนักล่ากำลังเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ ด้วยกลไกการทำงานของแมลงสาบในลักษณะนี้ สายสัญญาณที่เชื่อมต่อกับ Cerci จะทำหน้าที่กระตุ้นให้แมลงสาบเคลือนที่ได้ เนื่องจากมันคิดว่ามีนักล่ากำลังเข้ามาใกล้มันนั่นเอง ส่วนสายสัญญาณที่เชื่อมต่อกับหนวดของมันจะทำหน้าที่ชาร์จประจุไฟฟ้าเล็กๆ เข้าไปในเนื้อเยื้อเส้นประสาทของแมลงสาบ เพื่อกระตุ้นให้มันคิดว่า หนวดที่ทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศของมันสัมผัสถูกสิ่งกีดขวาง และเปลียนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นตรงกันข้าม โอ้ว...คิดได้นะเนียคนเรา - -" ...เอ่อ...อันนี้มันคนละตัวกับ "หุ่นยนต์แมลงสาบที่บังคับด้วยรีโมท" ซึ่งนำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้นะครับ อันนั้นมันของเล่น...แต่นี่เป็นแมลงสาบที่มีชีวิตจริงๆ ><"